บุหรี่ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อน และไอน้ำ ซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป ทำให้หลายคนอาจคิดว่า บุหรี่ไฟฟ้า ปลอดภัย และอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้นเลย
สารพิษ และอันตรายในบุหรี่ไฟฟ้า
มีความเข้มข้นของนิโคตินสูงกว่าบุหรี่มวน
ซึ่งส่งผลให้เกิดการเสพติดได้ง่ายกว่าบุหรี่ทั่วไป และทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
มีสารโพรไพลีนไกลคอล และกลีเซอรีน
เมื่อถูกความร้อน สามารถสร้างสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจโดยตรง ทำให้ไอ หายใจลำบาก กระตุ้นอาการหอบหืด และอาจนำไปสู่การอักเสบเรื้อรังในปอดได้
โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว, นิกเกิล จากขดลวดในอุปกรณ์
ความร้อนสูงจากขดลวดทำให้โลหะที่เป็นส่วนประกอบ เช่น ตะกั่ว, นิกเกิล, โครเมียม หลุดปนออกมากับละอองที่สูดเข้าไป ทำให้เข้าสู่ปอดโดยตรงจนเกิดการอักเสบ และสะสมในร่างกาย ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาท ระบบเลือด และบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง
ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา
ทำให้สูดเข้าสู่ปอดได้ลึกมากกว่า อนุภาคที่เล็กนี้จะจับเข้ากับเนื้อเยื่อปอด และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ขับออกจากร่างกายได้ยาก
โรคร้ายที่มาพร้อมบุหรี่ไฟฟ้า
- โรคปอดอักเสบจากบุหรี่ไฟฟ้า (EVALI : E-cigarette or Vaping product use Associated Lung Injury)
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคหลอดลมอักเสบ
- โรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น ปอด ลิ้น หลอดอาหาร
และรู้หรือไม่ว่า บุหรี่มวนสร้างก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากการเผาไหม้ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งอาจทำให้จำกัดการสูบได้บ้าง ต่างจากบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีคาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้สูบได้ต่อเนื่องกว่า โดยไม่รู้ถึงอันตรายอื่นจากนิโคตินหรือสารเคมีที่สะสมได้อีกด้วย
แม้หลายคนจะมองว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่า แต่ในความเป็นจริงกลับแฝงไปด้วยอันตราย ทั้งจากนิโคตินที่มีความเข้มข้นสูงจนเสพติดง่าย รวมถึงสารเคมีที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเป็นบุหรี่แบบไหน ต่างก็ทำร้ายสุขภาพของตัวเราเอง และคนรอบข้างเช่นเดียวกันหากมีข้อสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ อวตารคลินิกยินดีให้คำปรึกษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เน้นการรักษาแบบตรงจุดโดยใช้สมุนไพรไทยขึ้นตำรับ

แหล่งที่มา : หมอต้น นิพันธ์พงศ์ พานิช, โรงพยาบาลนวเวช, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9, โรงพยาบาลกรุงเทพ